• Share this page

    แชร์หน้านี้

  • TH
  • FAVORITES

เนื้อหาหลักเริ่มที่นี่

  • หน้าหลัก |
  • CALENDAR |
  • สถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมแนะนำช่วงเดือนพฤษภาคมในโตเกียว

Updated: April 14, 2025

สถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมแนะนำช่วงเดือนพฤษภาคมในโตเกียว

เดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่แนะนำสำหรับการท่องเที่ยวในโตเกียวไหม?

ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงโกลเดนวีคซึ่งเป็นหนึ่งในวันหยุดยาวของญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคมจึงอัดแน่นไปด้วยกิจกรรมมากมาย สภาพอากาศที่อบอุ่นและความเขียวขจีสดชื่นในสวนสาธารณะและสวนทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการเที่ยวชมและเดินเล่น นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ดีเยี่ยมที่จะได้สัมผัสประสบการณ์ในงานเทศกาล เช่น อีเวนต์ต่างๆ ที่เปี่ยมไปด้วยค่านิยมความดั้งเดิม

สภาพอากาศของโตเกียวในเดือนพฤษภาคมเป็นอย่างไร?

อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 20.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 24.8 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 15.6 องศาเซลเซียส เครื่องแต่งกายที่เหมาะกับสภาพอากาศในฤดูใบไม้ผลิอันสุขสบายในเดือนพฤษภาคมได้แก่กางเกงยีนส์และเสื้อแขนสั้น ในยามดึกผิวหนังอาจรู้สึกหนาวเย็นขึ้นเล็กน้อย จึงควรเตรียมเสื้อโค้ดบางๆ ติดตัวไว้ด้วย

*อ้างอิงจากข้อมูลสภาพอากาศของปี 2024

 

อีเวนต์ เทศกาล และกิจกรรมยอดนิยมในเดือนพฤษภาคม

เทศกาลคูรายามิ

เทศกาลนี้จัดขึ้นที่ศาลเจ้าโอกูนิตามะ ที่มาของชื่อมาจากขบวนแห่ศาลเจ้าในยามวิกาล จึงได้ชื่อว่า “เทศกาลคุรายามิมัตสึริ (เทศกาลแห่งความมืดมิด)” จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 เมษายนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม แต่พิธีกรรมซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 เมษายนถึง 2 พฤษภาคมนั้นไม่ได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมจึงไม่สามารถเข้าร่วมได้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม เป็นต้นไป จะมีการจัดงานอีเวนต์ยิ่งใหญ่เปี่ยมพลังทุกคืน และร้านแผงลอยกลางแจ้งจะคึกคักไปด้วยผู้มาเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยมีขบวนแห่มิโคชิโทเงียวเป็นไฮไลท์ของงาน

 

เทศกาลธงปลาคาร์ฟ (วันเด็ก)

วันที่ 5 พฤษภาคมถือเป็น “วันเด็ก” ของญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมีประเพณีประดับธงปลาคาร์ฟตามสวนเพื่อภาวนาให้เด็กๆ เติบโตอย่างมีสุขภาพแข็งแรง ที่โตเกียวทาวเวอร์ซึ่งสูงเด่นเป็นสง่าถึง 333 เมตร จะประดับธงปลาคาร์ฟเป็นจำนวน 333 ตัว ส่วนที่โตเกียวสกายทรีทาวน์นั้น ยามเมื่อลมพัดหวนจะได้เห็นภาพปลาคาร์ฟนับพันตัวแหวกว่ายพลิ้วไหวท่ามกลางสายลม

©TOKYO TOWER

 

งานฉลองคัจจิยะ

เทศกาลคัตสึยะเป็นเทศกาลที่ตั้งชื่อตามลูกศรจากเรื่องราวในอดีต ที่ฟูจิวาระโนะฮิเดซาโตะ (ข้าราชการในราชสำนัก) ผู้ปราบกบฏไทระโนะมาซากาโดะหลังจากสวดขอพรที่ศาลเจ้าคาโตริเมื่อประมาณ 1,100 ปีที่แล้ว ได้อุทิศคันธนูและลูกธนูให้กับศาลเจ้าคาโตริเพื่อเป็นการตอบแทนสําหรับชัยชนะในการต่อสู้ โดยได้ตั้งชื่อลูกศรนั้นว่า "คัตสึยะ" ในวันที่ 5 พฤษภาคมจะมี “พิธีถวายคัจจิยะ” โดยมีขบวนนักรบเดินเรียงแถวมุ่งหน้าสู่ศาลเจ้าคาโตริอย่างขึงขัง

 

เทศกาลคันดะ

เทศกาลคันดะแห่งศาลเจ้าคันดะเมียวจินจัดเป็นหนึ่งใน “สามเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น” และ “สามเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งเอโดะ” กล่าวกันว่าเทศกาลนี้ถือกำเนิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 8 “งานเทศกาลหลัก” จัดขึ้นปีเว้นปีเฉพาะในปีเลขคี่ ส่วนในปีเลขคู่จะมีการจัดงาน "เทศกาลคาเงะ" ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า เทศกาลคาเงะจะไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมเพราะจัดขึ้นเพื่อเป็นพิธีกรรมเท่านั้น ในงานเทศกาลหลักจะมีขบวนแห่ศาลเจ้ามิโกชิบนถนนในโตเกียวซึ่งเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง งานเทศกาลหลักมีแค่ 1 ครั้งในทุกๆ สองปี ถือเป็นเทศกาลล้ำค่าที่หาชมยาก

 

เทศกาลดอกกุหลาบในฤดูใบไม้ผลิ

สวนพฤกษศาสตร์จินไดเป็นสวนดอกกุหลาบที่ใหญ่ที่สุดในโตเกียว สวนแห่งนี้มีดอกกุหลาบบานสะพรั่งงดงามราว 5,200 ต้น จากกว่า 400 สายพันธุ์ เวลาที่ดีที่สุดในการชมดอกไม้คือช่วง “เทศกาลดอกกุหลาบในฤดูใบไม้ผลิ” โดยมีการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ มากมาย สามารถเพลิดเพลินไปกับดอกกุหลาบหลากสีสัน ท่ามกลางแสงแดดอบอุ่นในฤดูใบไม้ผลิได้อย่างผ่อนคลาย

 

เทศกาลซันจะ

เทศกาลซันจะเป็นเทศกาลของศาลเจ้าที่อุทิศให้กับ 3 ผู้สถาปนาวัดเซนโซจิซึ่งเป็นวัดชื่อดังแห่งย่านอาซากุสะ และจัดขึ้นทุกปีในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมเป็นระยะเวลา 3 วัน เป็นงานอีเวนต์ในท้องถิ่นที่มีชีวิตชีวาและได้รับความนิยมอย่างมาก ขอเชิญมาร่วมสัมผัสจิตวิญญาณอันน่าหลงใหลของย่านดาวน์ทาวน์ในโตเกียว (ทัศนียภาพบ้านเมืองเก่าแบบดั้งเดิม)

 

เทศกาลท่าเรือโตเกียว

ท่าเรือโตเกียวเป็นท่าเรือพาณิชย์ระหว่างประเทศที่เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 1941 “เทศกาลท่าเรือโตเกียว” เป็นงานเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันเปิดกิจการของท่าเรือแห่งนี้ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือโตเกียวต่างเข้าร่วม ภายในงานมีจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมเรือที่แปลกใหม่หาชมได้ยาก และสัมผัสประสบการณ์นั่งเรือ เป็นต้น

 

อีเวนต์เดือนนี้

 

ปฏิทินอีเวนต์

ทำความรู้จัก