ประวัติการเข้าชมของฉัน

คู่มือโตเกียวของฉัน

เมื่อพบหน้าเพจที่สนใจ กรุณาคลิกที่เครื่องหมายหัวใจเพื่อบันทึกไว้เป็น "ประวัติการเข้าชมของฉัน" กัน

เนื้อหาหลักเริ่มที่นี่

Updated: November 29, 2023

ต้นน้ำทามากาวะซึ่งจะเดินตามรอยในครั้งนี้ เป็นคลองชลประทานเก่าแก่ยาว 43 กิโลเมตรที่สร้างขึ้นในสมัยเอโดะเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่ม สร้างขึ้นโดยโชกุนโทกุกาวะในปี 1653 เพื่อจัดหาน้ำดื่ม น้ำป้องกันอัคคีภัย และน้ำเพื่อการเกษตรจากแม่น้ำทามะไปยังเอโดะและหมู่บ้านเกษตรกรรมโดยรอบ
จากการเดินตามรอยแม่น้ำสายนี้ จะทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างเอโดะกับน้ำได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และยังสามารถลองชิมสาเกท้องถิ่นที่ทำจากน้ำในพื้นที่แห่งนี้ได้อีกด้วย
เริ่มต้นเดินจากสถานีฮามูระ รถไฟ JR สายโออุเมะกัน

จุดเด่น

  • เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของต้นน้ำทามากาวะระหว่างเดินตามเส้นทางนี้
  • เพลิดเพลินกับทิวทัศน์จากสะพานชินโฮริซึ่งได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 วิวทิวทัศน์ที่ดีเยี่ยมของโตเกียว
  • เยี่ยมชมโรงกลั่นสาเกและทำความเข้าใจว่าน้ำในท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการผลิตสาเกรสชาติดี

สัญลักษณ์แผนที่

  • เดิน
  • แท็กซี่
  • รถบัส
  • รถไฟ
  • เรือบัส
  • จักรยาน

1

ประตูฮามูระ จินยะโมน และศาลเจ้าทามากาวะซุย

ฮามูระ จินยะสร้างขึ้นเพื่อเป็นป้อมสำหรับบริหารจัดการเขื่อนฮามูระและต้นน้ำทามากาวะ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลโชกุนและคนดูแลน้ำในท้องถิ่นเคยทำงานที่นี่ และในปัจจุบันก็ยังมีประตูมุงหลังคาหญ้าให้เห็นอยู่
โบราณสถานฮามูระ จินยะนั้น ปัจจุบันเป็นสำนักบริหารจัดการการกักเก็บน้ำฮามูระของสำนักงานประปาโตเกียว และปัจจุบันก็ยังมีหน้าที่บริหารจัดการฝายกักเก็บน้ำฮามูระ
ศาลเจ้าน้ำทามากาวะซุยอยู่ติดกับโบราณสถานฮามูระ จินยะ โดยมีสองพี่น้องทามากาวะ โชเอมอน และทามากาวะ เซเอมอน เป็นผู้สร้างขึ้นระหว่างปี 1652 ถึงปี 1654 เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของน้ำและภาวนาให้การก่อสร้างที่ต้นน้ำทามากาวะเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย

Walking1นาที

2

เขื่อนฮามูระ

เขื่อนฮามูระตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำทามะไปทางต้นน้ำราว 54 กิโลเมตร และสร้างเสร็จในปี 1653 เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำจากต้นน้ำทามากาวะ
โครงสร้างของฝายประกอบด้วยฝายโคเต (ฝายที่เคลื่อนที่ไม่ได้) และฝายนาเกะวาตาชิ (ฝายที่เคลื่อนที่ได้) ซึ่งถือเป็นโครงสร้างหายาก เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำทามะสูงขึ้นเกินระดับหนึ่ง คานของ "ฝายนาเกะวาตาชิ" จะถูกยกขึ้นเพื่อเอาน้ำออก
สองพี่น้องโชเอมอนและเซเอมอนมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้าง จึงได้รับชื่อสกุลว่า ทามากาวะ เพื่อเป็นเกียรติแก่ความสำเร็จนี้ จะเห็นรูปปั้นของสองพี่น้องตั้งอยู่ข้างเขื่อนฮามูระ
ฝายได้รับการสร้างขึ้นใหม่และขยายให้กว้างขึ้นในปี 1900 และ 1924

Walking13นาที

3

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองฮามูระ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองฮามูระมีสี่มุมด้วยกัน คือ "ทามากาวะ โทะ โทโมนิ (ร่วมกับแม่น้ำทามะ)" "ทามากาวะโจซุย โวะ มาโมรุ (ปกป้องต้นน้ำทามากาวะ)" "โนมูระคาระ โทชิเอะ (จากหมู่บ้านการเกษตรสู่ชุมชนเมือง)" และ "นากาซาโตะ ไคซัง โนะ เซไค (โลกของนากาซาโตะ ไคซัง)" ที่นี่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับแม่น้ำทามะและท้องถิ่น ประวัติศาสตร์และโครงสร้างของระบบน้ำชลประทาน และเรียนรู้เกี่ยวกับนากาซาโตะ ไคซัง นักเขียนนวนิยายที่เกิดในเมืองฮามูระ
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการกลางแจ้ง บ้านของครอบครัวชิโมดะในอดีตที่สร้างขึ้นในปี 1847 และเป็นหนึ่งในอาคารที่จัดแสดงอยู่ด้านนอก บ้านหลังนี้และสิ่งของในครัวเรือนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีกว่า 1,000 ชิ้น ได้รับการกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมพื้นบ้านสำคัญที่จับต้องได้ *โปรดตรวจสอบข้อมูลล่าสุด เช่น เวลาเปิดให้บริการ จากเว็บไซต์ทางการ

Walking25นาที

4

สะพานชินโบริ

เดินต่อไปอีกไม่ไกลก็จะถึงสะพานชินโบริ สะพานปัจจุบันสร้างเสร็จในปี 1986
วิวของต้นน้ำทามากาวะที่มองเห็นจากสะพานนั้นได้รับเลือกจากกรุงโตเกียวให้เป็นหนึ่งใน “100 วิวทิวทัศน์ที่ดีเยี่ยมของโตเกียว” ต้นเซลโควาญี่ปุ่นและต้นโอ๊คฟันเลื่อยที่งดงามปกคลุมผืนน้ำจากทั้งสองฝั่ง หากมองไปทางทิศตะวันตกของสะพาน จะเห็นเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของเทพเจ้าคมพีระกองเกนด้วย นอกจากนี้ ในเดือนมิถุนายน หากโชคดีก็อาจจะเห็นหิ่งห้อยเริงระบำท่ามกลางทัศนียภาพนี้ได้

Walking8นาที

5

โรงเหล้าสาเกทามุระ

โรงเหล้าสาเกทามุระก่อตั้งขึ้นในปี 1822 บนฝั่งต้นน้ำทามากาวะ โรงหมักเหล้าสาเกที่งดงามแห่งนี้มีผนังฉาบสีขาวและหน้าร้านที่เป็นโครงสร้างไม้ และได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีมาเป็นเวลายาวนาน มี 5 ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียน เช่น โรงกลั่น โรงสีน้ำ และกำแพงหิน นอกจากนี้ ที่ไมกูระ (โกดังเก่า) มีการจัดแสดงสาเกสำหรับจำหน่าย และสามารถเยี่ยมชมบ่อน้ำที่สูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ในการผลิตเหล้าสาเก และต้นเซลโควายักษ์ภายในบริเวณของโรงกลั่นได้อีกด้วย
หากได้มาเยี่ยมชมโรงกลั่นสาเกแห่งนี้ ขอแนะนำให้ลองชิมรสชาติของสาเกขึ้นชื่ออันดับหนึ่งอย่าง "คาเซ็น" ซึ่งทำตามวิธี "วาโจ เรียวชู" โดยใช้น้ำจากจิจิบุโอคุทามะกันดู
* สามารถเข้าร่วมการทัศนศึกษาโกดังได้ยกเว้นช่วงเดือนธันวาคมและมกราคม แต่จำเป็นต้องจองล่วงหน้า (รับจองทางเว็บไซต์หรือทางโทรศัพท์ ตั้งแต่ 3 เดือนล่วงหน้า จนถึง 1 สัปดาห์ล่วงหน้าก่อนวันที่ต้องการเข้าเยี่ยมชม)
การเดินตามเส้นทางนี้ สิ้นสุดลงที่สถานีฟุสสะ รถไฟ JR สายโออุเมะ (เดินประมาณ 10 นาที)